รู้จัก 'ไพโรเจน' สารดับไฟคร่า 8 ศพ กับหนทางรอดชีวิต

เป็นเรื่องเศร้าสลดอย่างยิ่ง กับกรณี อุบัติเหตุที่อาคารธนาคารไทยพาณิชย์สำนักงานใหญ่ ถนนรัชดาภิเษก แขวงจตุจักร เขตจตุจักร หลังคนงานต่อเติม...

เป็นเรื่องเศร้าสลดอย่างยิ่ง กับกรณี อุบัติเหตุที่อาคารธนาคารไทยพาณิชย์สำนักงานใหญ่ ถนนรัชดาภิเษก แขวงจตุจักร เขตจตุจักร หลังคนงานต่อเติมใกล้ห้องเก็บเอกสารของธนาคารชั้นใต้ดิน มีกลุ่มควันทำให้ระบบดับเพลิงแบบใช้สารเคมีทำงานอัตโนมัติ ทำให้คนงานขาดอากาศหายใจเสียชีวิตทันที 5 ราย และมาเสียชีวิตที่โรงพยาบาลอีก 3 ราย

src="//pagead2.googlesyndication.com/pagead/js/adsbygoogle.js">
อย่างไรก็ดี จากการตรวจสอบเบื้องต้นคาดว่า ระบบดับเพลิงดังกล่าว ใช้สาร "ไพโรเจน" ในเรื่องนี้ ทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ ได้ รศ.ดร.ชัยวัฒน์ คุประตกุล ผู้ปราดเปรื่องด้านวิทยาศาสตร์ มาไขข้อข้องใจว่าสารดังกล่าวมันคืออะไร ทำงานแบบไหน แล้วคนเรามีเวลาแค่ไหนถึงจะเอาชีวิตรอดจากสารมรณะนี้
รศ.ดร.ชัยวัฒน์ คุประตกุล
ทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ ได้ต่อสายตรงสอบถาม อาจารย์ชัยวัฒน์ ก็ขอเวลาครู่ใหญ่เพื่อรวบรวมข้อมูล สืบเสาะว่าสารมรณะดังกล่าว มันคืออะไรกันแน่ ไม่นานนัก นักวิทยาศาสตร์ผู้มากความรู้ได้โทรกลับมา แล้วให้ข้อมูลว่า คาดว่า คือ "ไพโรเจน" เช่นกัน

src="//pagead2.googlesyndication.com/pagead/js/adsbygoogle.js">
สารที่ใช้ดับเพลิง ดูดกลืนออกซิเจนรวดเร็ว ทำให้ทุกชีวิต 'ขาดอากาศหายใจ'
รศ.ดร.ชัยวัฒน์ ให้ความรู้ว่า ไพโรเจน (pyrogen) ที่จริงแล้วเป็นสารที่รับออกซิเจนเร็วมาก ทำให้ออกซิเจนในอากาศหมดไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งหากออกซิเจนหมด ไฟก็จะดับ โดยตัวมันจะคายคาร์บอนไดออกไซด์ ไนโตรเจน และละอองน้ำ ออกมา ซึ่งสาเหตุที่ทำให้คนเสียชีวิตก็คือการ "ขาดอากาศหายใจ"
ต้องช่วยเหลือผู้ติดภายในอย่างเร่งด่วน
อาจารย์ชัยวัฒน์ กล่าวต่อว่า การทำงานของสารตัวนี้ คือ เขาจะเก็บไว้ในถังและมีกลไกการทำงาน หากมีเหตุเพลิงไหม้เมื่อไหร่ กลไกก็จะทำงานด้วยการพ่นสารตัวนี้ออกมา จากนั้นก็จะดูดออกซิเจนอย่างรวดเร็ว เพื่อให้ไฟดับ แต่คนที่อยู่บริเวณนั้น ยิ่งเป็นที่แคบ ก็จะทำให้ขาดอากาศหายใจเร็วขึ้น ซึ่งสารชนิดนี้เหมาะในการใช้ในอาคาร หากเป็นที่กว้าง มีอากาศถ่ายเท ไฟก็อาจจะไม่ดับ

อย่างไรก็ดี จากการที่ฟังข่าวจากหลายแหล่ง เชื่อว่านักข่าวอาจจะเข้าใจผิดว่าเป็นสารชนิดอื่น แต่ส่วนตัวเชื่อว่า น่าจะเป็นไพโรเจน ซึ่ง ไพโรเจน นี่เขาเอามาใช้แทน ฮาโลเจน เนื่องจากอันตรายกับสภาพแวดล้อม
จุดเกิดเหตุ
วิธีเอาชีวิตรอดอย่างไร...หากเกิดการฟุ้งกระจาย

นักวิทยาศาสตร์ชื่อดังถึงขั้นร้องอุทาน เมื่อถามคำถามนี้ พร้อมกับตอบว่า...ทางรอดมีทางเดียว คือต้องรีบออกจากอาคารอย่างรวดเร็ว ถ้าหากเป็นสถานที่เปิด มีออกซิเจนใหม่เข้ามาได้ก็ไม่เป็นอะไร เพราะจะมีออกซิเจนใหม่เข้ามา แต่ถ้าเป็นสถานที่ปิดก็อาจจะเสียชีวิตได้ ถามว่ามีเวลาเท่าไร คำตอบคือ อยู่ที่สภาพแวดล้อมที่นั่นว่าแคบแค่ไหน "ยิ่งแคบยิ่งอันตราย" นอกจากนี้ ก็ขึ้นอยู่กับว่า มีคนอยู่เยอะหรือไม่ ถ้ามีคนมากก็จะแย่งอากาศกัน ก็จะทำให้มีเวลาเหลือน้อยและเสียชีวิตเร็วขึ้น

ตอนนี้ทางฝ่ายพิสูจน์หลักฐานกำลังตรวจสอบอยู่ว่า "ใช่" ไพโรเจน หรือไม่ แต่จากการฟังรายงานข่าว เชื่อว่าน่าจะใช่ แต่เนื่องจากเป็นระบบความปลอดภัยของทางธนาคาร จึงเชื่อว่าระบบดับเพลิงเขาค่อนข้างใหญ่ เพราะทำให้คนตายมากขนาดนี้
มีผู้เสียชีวิตในที่เกิดเหตุทันที 5 ราย
ออกซิเจนหมด ปวดหัว กระวนกระวาย หัวใจเต้นเร็ว สมองไม่ทำงาน กลายเป็น "ผัก"

ขณะที่ รศ.นพ.วินัย วนานุกูล ภาควิชาอายุรศาสตร์ พิษวิทยา โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวว่า หากเราแยกพิจารณาเป็นตัวๆ ของสาร ไพโรเจน นั้น จะได้ คาร์บอนไดออกไซด์ ไนโตรเจน และละอองน้ำ ซึ่งถือว่า "ไม่ใช่แก๊สพิษ" ไนโตรเจน ก็มีในอากาศ 70 เปอร์เซ็นต์อยู่แล้ว ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ร่างกายเราก็ผลิตอยู่แล้ว ส่วนละอองน้ำ ก็ไม่มีพิษอะไร แต่เมื่อมีการสร้างก๊าซ 3 ตัวนี้เยอะๆ ในสถานที่ปิด ซึ่งปกติ อากาศ จะมีออกซิเจน อยู่ประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ พอไพโรเจน ทำงาน ก็จะทำให้ออกซิเจนหมดไป

เกิดเหตุสลด ครั้งที่ 2 แล้ว กับตึก SCB
"คนป่วยและคนเสียชีวิต ก็คือ ขาดออกซิเจนในการหายใจ พอเราขาดออกซิเจน สมองก็จะได้รับการกระทบกระเทือนก่อน ปวดหัว กระวนกระวาย ถ้ามีมากๆ ก็ทำให้หมดสติ ต่อมา ก็จะกระทบกับหัวใจ ทำให้หัวใจเต้นเร็ว กระทั่งช็อก เพราะหัวใจมีออกซิเจนน้อยเกินไป"
เจ้าหน้าที่ช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ และนำร่างผู้เสียชีวิต ออกจากตัวตึก
คุณหมอภาควิชาอายุรศาสตร์ รพ.รามาฯ ให้ความรู้ต่อว่า ภาวะต่างๆ ที่เกิดขึ้นนั้น บอกไม่ได้ว่าใช้เวลากี่นาที เพราะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของออกซิเจนที่ขาดไป เช่นว่าขาดไปเลย หรือว่ามีน้อย โดยเฉลี่ยแล้วคนเราก็จะตายภายในไม่กี่นาที จนถึง 30 นาที ซึ่งกรณีที่เกิดขึ้นกับ SCB นั้น ก็คล้ายๆ กับการอยู่ในรถแล้วติดเครื่องยนต์ไว้ ที่ถูกก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ เข้ามาในรถจนออกซิเจนหมด


การปฐมพยาบาล วิธีที่ดีสุด คือให้ออกซิเจนดม ส่วนโอกาสรอดนั้น ขึ้นอยู่กับความรุนแรง เช่น รุนแรงมาก ก็เสียชีวิต ถ้าขาดออกซิเจนนานเกินไปก็ทำให้สมองไม่ทำงาน กลายสภาพเป็นเหมือน "ผัก"
http://www.thairath.co.th/content/590631

You Might Also Like

0 comments

Online